วันพุธที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ศึกน้ำดำ กลยุทธ์ไซซ์ซิ่ง


ประชาชาติธุรกิจ
วันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 32 ฉบับที่ 4027"

โค้ก" เปิดเกม...ชิงนำ ส่ง "ราคาประหยัด" สู้ศึกน้ำอัดลมคอลัมน์ จับกระแสตลาด

เป็นการปรับตัวที่น่าจับตาไม่น้อย สำหรับการส่งบรรจุภัณฑ์ชนิด กระป๋องขนาด 240 ม.ล.เข้าสู่ตลาดของโคคา-โคลาพร้อมๆ กันถึง 3 รสชาติ คือ โค้ก แฟนต้าน้ำส้ม แฟนต้าน้ำแดง เมื่อช่วงต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ท่ามกลางปัญหาต้นทุนต่างๆ ที่ประดังเข้ามาเป็นระยะ โดยเฉพาะกับราคาน้ำตาลที่ยังแก้ไม่ตกที่น่าจับตามากยิ่งไปกว่านั้นเห็นจะเป็นการตั้งราคาขายไว้เพียงกระป๋องละ 10 บาท ซึ่งสอดรับกับกำลังซื้อในภาวะเศรษฐกิจถดถอย ทำให้ทุกค่ายต้องพลิกกลยุทธ์ตลาดเป็นว่าเล่น จากสิ่งเดิมๆ ที่เคยทำแล้วประสบความสำเร็จ ก็ต้องหันมาใช้วิธีการใหม่ๆ เพื่อเจาะใจผู้บริโภค สิ่งหนึ่งที่เห็นชัดเจนขณะนี้คือ ไซซ์ซิ่ง ที่เหมาะกับแต่ละช่องทางขาย โดยเฉพาะสินค้าไซซ์เล็ก ควักง่ายจ่ายสะดวก ไม่ต้องทอนกรณีของโค้ก และแฟนต้า ไซซ์เล็ก 240 ม.ล.ที่เพิ่งเปิดตัวในตลาด ก็ถือเป็นการปรับตัวของยักษ์ใหญ่รายนี้เช่นกัน แหล่งข่าวจากบริษัท โคคา-โคลา (ประเทศไทย) จำกัด ให้ข้อมูลว่า สินค้าไซซ์ใหม่นี้จะเน้นการกระจายเข้าสู่ช่องทางที่เป็นร้านขายของเบ็ดเตล็ด ตู้แช่ และโชห่วยทั่วๆ ไป กระป๋องมินิตัวนี้จะใช้เน้นจับกลุ่มเป้าหมายวัยรุ่นและผู้บริโภคทั่วไปนี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่โคคา-โคลาใช้กลยุทธ์การปรับขนาดบรรจุภัณฑ์กับตลาด เมืองไทยหากย้อนกลับไปตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา จะเห็นว่าน้ำดำค่ายนี้มีการส่งเครื่องดื่มไซซ์ใหม่ๆ เข้ามาในตลาดเป็นระยะๆ อย่างต่อเนื่อง เช่น เพิ่มขวดขนาด 10 ออนซ์เข้ามา จากเดิมที่มีขวดขนาด 15 ออนซ์ทำตลาดอยู่แล้ว หรือเดิมมีเฉพาะขวดพีอีทีขนาด 1.5 ลิตร ก็เพิ่มไซซ์ 1.25 ลิตรเข้ามาเสริม รวมถึงการเพิ่มโค้กบัดดี้ขนาด 390 ม.ล. รวมทั้งขวดพีอีทีขนาด 500 ม.ล. และ 600 ม.ล. ฯลฯแต่ละไซซ์ก็จะวางจำหน่ายในช่องทางและกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่แตกต่างกันไป และเป็นการเพิ่มโอกาสในการขายที่น่าสนใจไม่น้อยนี่เป็นเพียงตัวอย่างส่วนหนึ่งเท่านั้นขณะเดียวกัน ด้วยจำนวนสินค้าไซซ์ ใหม่ๆ ที่เพิ่มเข้ามาในตลาดดังกล่าว ยังเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความพร้อมและประสิทธิภาพในการผลิตของไทยน้ำทิพย์ ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายได้เป็นอย่างดีขณะที่ผู้คร่ำหวอดในวงการเครื่องดื่มรายหนึ่ง แสดงทรรศนะถึงการปรับตัวของค่ายโคคา-โคลาดังกล่าวว่า ด้วยสภาพตลาดที่เปลี่ยนไปโดยเฉพาะพฤติกรรมของคนทั่วๆ ไปที่หันมาใส่ใจในเรื่องสุขภาพมากขึ้น และลดการดื่มน้ำอัดลม รวมถึงข้อจำกัดของช่องทางจำหน่ายโดยเฉพาะโรงเรียนหลายๆ แห่งที่เป็น "เขตปลอดน้ำอัดลม" ไปแล้วรวมทั้งการเข้ามาของคู่แข่งขันหน้าใหม่ที่เล่นทั้งเรื่องของปริมาณและราคา ที่ทำให้ค่ายแบรนด์ใหญ่ต้องกุมขมับมาแล้วสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นตัวแปรที่ทำให้ โคคา-โคลาต้องเปลี่ยนยุทธศาสตร์ จากการตั้งรับเป็นการเปิดเกมรุกแทน พร้อมกับการอาศัยเครือข่ายระบบการจ่ายสินค้าที่มีประสิทธิภาพปูพรมสินค้าตัวใหม่นี้ไปทั่วสารทิศทั้งนี้ "ชื่นหทัย วรรธนะดิษฐ์" ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท โคคา-โคลา (ประเทศไทย) จำกัด อธิบายถึงปรากฏการณ์ดังกล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า"การวางจำหน่ายโค้กในบรรจุภัณฑ์ขนาดต่างๆ คือความมุ่งมั่นของเราในการนำเสนอนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง และเชื่อว่าบรรจุภัณฑ์ใหม่ อาทิ ขวด pet ขนาดพกพา (on-the-go) 600 ม.ล. ขวดกริปใหม่ไม่หลุดมือขนาด 500 ม.ล. และกระป๋องมินิขนาด 240 ม.ล. จะสามารถตอบสนองในแต่ละช่องทางจำหน่ายที่เหมาะสมกับความต้องการของผู้บริโภค"เป็นการอำนวยความสะดวกในการเลือกซื้อและการบริโภค และเป็นการเพิ่มทางเลือกที่เหมาะสมกับโอกาสการดื่มที่แตกต่างกันไปทั้งนี้ เพื่อการตอบสนองความต้องการ ของผู้บริโภค และความต้องการใหม่ๆ ของ ผู้บริโภคที่เกิดขึ้น รวมทั้งการนำเสนอทางเลือกให้กับผู้บริโภคด้วยผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มหลากชนิดหลายรสชาติ ทุกที่ ทุกเวลา ในบรรจุภัณฑ์และระดับราคาที่เหมาะสม พร้อมกันนี้ เธอยังย้ำอีกว่า กลุ่มธุรกิจ โคคา-โคลาในประเทศไทยเป็นผู้นำอันดับ 1 ซึ่งมีส่วนแบ่งตลาดมากกว่า 50% ในตลาดเครื่องดื่มสปาร์กลิ่ง โดยพิจารณาจากยอดขายทั่วประเทศ จากทุกช่องทางการขาย และทุกบรรจุภัณฑ์ ทั้งซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านค้าปลีก อาคารสำนักงาน ร้านอาหารจานด่วน ตลาดสด บาร์ คาเฟ่ โรงแรม ร้านอาหาร และภัตตาคารต่างๆ โค้ก ประเทศไทย ครองอันดับ 1 ทั้งด้านปริมาณและยอดขาย !